วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553
การสรุปโปรแกรม SPSS OF WINDOWS
ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตินั้น หากข้อมูลมีปริมาณน้อยเราสามารถคำนวณด้วยเครื่องคิดเลขเครื่องเล็ก ๆ ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การทำวิจัยเรื่องใด ๆ ก็ตามปริมาณข้อมูลจะมีมาก การคำนวณด้วยเครื่องคิดเลขขนาดเล็กจึงเป็นการเสียเวลาและแรงงานมากและยังเกิดความผิดพลาดได้ จึงจำเป็นที่จะต้องนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยนั่นคือโปรแกรม SPSS OF WINDOWS โดยจะต้องเตรียมเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ฯลฯ โดยจะต้องมีการสร้างรหัสและการกำหนดชื่อตัวแปร เช่น ID SEX AGE YEAR STATUS และเมื่อนำเครื่องมือไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างแล้ว คำตอบทั้งหมดที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างจะต้องนำมาจัดเตรียมก่อนจะเริ่มต้นวิเคราะห์ข้อมูล โดยเข้าโปรแกรมที่ Start และคลิกไปที่ Program แล้วคลิกที่ SPSS OF WINDOWS และคลิกเลือก Type in data และคลิกปุ่ม OK เพื่อเปิดหน้าต่าง โดยต้องเข้าที่ Variable view และ Data View เมื่อบันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้วก็ทำการ Save ข้อมูลได้เลย
วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สรุปวิธีการใช้ Google
วิธีการใช้งาน Tab คำสั่งต่าง ๆ บนหน้าจอ Google
ได้แก่ Tab เว็บ, Tab รูปภาพ, Tab แผนที่, Tab แปลภาษา, Tab กูรู, Tab บล็อก, Tab Gmail เป็นต้น
โดยแต่ละ Tab มีการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น Tab แผนที่ เมื่อคลิกเข้าไปแล้วสามารถใช้หาที่ตั้งของสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว หรือ Tab แปลภาษา ก็สามารถแปลภาษาต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย หรือ Tab กูรู แค่พิมพ์หัวข้อที่เราสนใจเท่านั้นก็สามารถได้คำตอบจากผู้เชี่ยวชาญในทันที และ Tab บล็อก ก็สามารถสร้างบล็อกของตัวเองขึ้นมาได้อย่างง่ายได้
ทำให้เห็นได้ว่า Google เป็น Search Engine ที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากจริง ๆ
ได้แก่ Tab เว็บ, Tab รูปภาพ, Tab แผนที่, Tab แปลภาษา, Tab กูรู, Tab บล็อก, Tab Gmail เป็นต้น
โดยแต่ละ Tab มีการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น Tab แผนที่ เมื่อคลิกเข้าไปแล้วสามารถใช้หาที่ตั้งของสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว หรือ Tab แปลภาษา ก็สามารถแปลภาษาต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย หรือ Tab กูรู แค่พิมพ์หัวข้อที่เราสนใจเท่านั้นก็สามารถได้คำตอบจากผู้เชี่ยวชาญในทันที และ Tab บล็อก ก็สามารถสร้างบล็อกของตัวเองขึ้นมาได้อย่างง่ายได้
ทำให้เห็นได้ว่า Google เป็น Search Engine ที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากจริง ๆ
การจัดการความรู้ แนวคิดและกลยุทธ์ในการสร้างองค์การ
ความรู้ คืออะไร (Knowledge Capital)
1. ความสามารถในการทำให้สารสนเทศและข้อมูลเป็นการกระทำที่มีประสิทธิภาพ
2. ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ และความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะเป็นกรอบที่ทำให้เกิดประสบการณ์และความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน
v ข้อมูล (Data)
ข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านระบบ
v Information เอา Data มาจัดทำ
v Knowledge เอามาสร้างเป็นองค์ความรู้
v ความเฉลี่ยวฉลาด (Wisdom)
การนำความรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่าง ๆ
v เชาว์ปัญญา (Intelligence)
ผลจากการปรับแต่งและจดจำ ความเฉลี่ยวฉลาดต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไว
วิถีสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
มีวิถีเดียว คือ วิถีแห่งการปฏิบัติ
KM - ไม่นำ ไม่รู้
- เรียนลัดและต่อยอด
เพียงจ้องมองบันไดยังไม่พอ แต่เราต้องก้าวขึ้นบันได้ด้วย
หัวปลา Knowledge Vision
ต้องเชื่อมต่อกับภาพใหญ่
ต้องได้ Output, Outcome
ต้องเข้าใจบทบาท “คุณเอื้อ”
ต้องใช้ “ภาวะผู้นำ” ในทุกระดับ
หางปลา Knowledge Asset
ได้มาจาก”คุณกิจ” ตัวจริง
มีทั้งส่วนที่เป็น
Explicit Knowledge และ
Tacit Knowledge
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Process)
1. กำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้ (Knowledge Identification)
2. การแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition)
3. การจัดเก็บและค้นคืนความรู้ (Knowledge Storage & Retrieval)
4. การสร้างความรู้ (Knowledge Creation)
5. การประมวลและการกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification & Refinement)
อุปสรรคการเรียนรู้
ไม่พูด ไม่คุย
ไม่เปิด ไม่รับ
ไม่ปรับ ไม่เปลี่ยน
ไม่เพียร ไม่ทำ
1. ความสามารถในการทำให้สารสนเทศและข้อมูลเป็นการกระทำที่มีประสิทธิภาพ
2. ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ และความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะเป็นกรอบที่ทำให้เกิดประสบการณ์และความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน
v ข้อมูล (Data)
ข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านระบบ
v Information เอา Data มาจัดทำ
v Knowledge เอามาสร้างเป็นองค์ความรู้
v ความเฉลี่ยวฉลาด (Wisdom)
การนำความรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาต่าง ๆ
v เชาว์ปัญญา (Intelligence)
ผลจากการปรับแต่งและจดจำ ความเฉลี่ยวฉลาดต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความคิดที่ฉับไว
วิถีสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
มีวิถีเดียว คือ วิถีแห่งการปฏิบัติ
KM - ไม่นำ ไม่รู้
- เรียนลัดและต่อยอด
เพียงจ้องมองบันไดยังไม่พอ แต่เราต้องก้าวขึ้นบันได้ด้วย
หัวปลา Knowledge Vision
ต้องเชื่อมต่อกับภาพใหญ่
ต้องได้ Output, Outcome
ต้องเข้าใจบทบาท “คุณเอื้อ”
ต้องใช้ “ภาวะผู้นำ” ในทุกระดับ
หางปลา Knowledge Asset
ได้มาจาก”คุณกิจ” ตัวจริง
มีทั้งส่วนที่เป็น
Explicit Knowledge และ
Tacit Knowledge
กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Process)
1. กำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้ (Knowledge Identification)
2. การแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition)
3. การจัดเก็บและค้นคืนความรู้ (Knowledge Storage & Retrieval)
4. การสร้างความรู้ (Knowledge Creation)
5. การประมวลและการกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification & Refinement)
อุปสรรคการเรียนรู้
ไม่พูด ไม่คุย
ไม่เปิด ไม่รับ
ไม่ปรับ ไม่เปลี่ยน
ไม่เพียร ไม่ทำ
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
เป็นการจัดการโดยทำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดระบบข้อมูล เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ ในทางปฏิบัติสิ่งที่ผู้บริหารต้องการเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานของตนให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว คือ การมีข้อมูลที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันและเอื้อต่อการนำมาประเมินในขั้นวิเคราะห์และสังเคราะห์ต่อไป ผู้บริหารการศึกษาทุกระดับได้พยายามให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญต่อการตัดสินใจและการวางแผนการศึกษา แต่คงไม่สามารถปฏิเสธว่าอุปสรรคต่อการดำเนินการ คือ ความเป็นปัจจุบันของข้อมูล ความหลากหลายและปริมาณข้อมูลที่มีมาก ยิ่งไปกว่านั้นการนำข้อมูลที่ได้มาเพื่อการวิเคราะห์และสังเคราะห์ มีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการที่ต้องใช้เวลา และต้องระมัดระวังเพื่อป้องกันการผิดพลาด ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลตาย ไม่สามารถนำมาประมวลผลต่อได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลดิจิตอล (Digital Date) การดำเนินงานดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและอาจมีข้อผิดพลาดในการถ่ายข้อมูลได้ ดังนั้น กว่าจะประมวลผลข้อมูลและออกเป็นรายงานได้ จึงต้องใช้เวลาและมักไม่ทันต่อการนำไปใช้วางแผน หรือปรับการดำเนินการ
ดังนั้น การบริหารจึงต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาอย่างมีระบบและมีความเป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เพราะข้อมูลในลักษณะดังกล่าวทำให้ทราบถึงจุดแข็งจุดอ่อน และประเด็นที่ต้องนำมาวางแผนเพื่อพัฒนาในการบริหารงาน ดังนี้
1. การจัดทำแผนการนำนวัตกรรมและสารสนเทศเข้ามาใช้ ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและเตรียมตัวในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องให้ประสานสอดคล้องกัน การเตรียมงบประมาณรองรับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ ขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมคนที่จะดูแลระบบงานใหม่เพื่อให้สามารถทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ สิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ก็คือ ผู้เกี่ยวข้องที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จำเป็นต้องได้รับทราบ และทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย
2. การพัฒนาหรือจัดหาระบบเทคโนโลยีที่ต้องการนำเข้ามาใช้ จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยมีการพิจารณา ศึกษาวิเคราะห์ และคัดเลือกด้วยวิธีการที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาและต้องให้เกิดความมั่นใจว่าจะได้ระบบที่ดีที่เหมาะสมต่อการใช้งาน
3. การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการมาก เนื่องจากระบบงานด้านเทคโนโลยีมีองค์ประกอบจำนวนมากทั้ง Hardware, Software, และ Application องค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องจัดหาให้สอดคล้องกัน
4. การพัฒนาบุคลากรการจัดการสารสนเทศ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ บุคลากรที่ควบคุมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องพัฒนาให้มีความรู้และสามารถทำงานตามข้อกำหนดของการใช้เทคโนโลยีได้อย่างครบถ้วน
5. การติดตามประเมินผล ระบบงานบริหารจัดการที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยควรมีการประเมินผลอย่างน้อย 2 ส่วน ด้วยกัน ส่วนแรกต้องประเมินผลงานที่กำหนดไว้ในแผนงาน เช่น ความสามารถให้บริการตามเป้าหมาย การนำเสนอรายงานตามกำหนดเวลา ส่วนที่สองคือ การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เพื่อสะท้อนให้เห็นสถานภาพของระบบงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ ในด้านความรวดเร็ว ความแม่นยำถูกต้อง และความสะดวกในการใช้ระบบงาน การติดตามประเมินผลควรจะมีระยะเวลากำหนดไว้ตลอดช่วงเวลาในแต่ละปี หากพบข้อบกพร่องหรือมีข้อเสนอแนะที่ควรแก่การแก้ไขปรับปรุงก็ควรพิจารณา และปรับปรุงให้สอดคล้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้อย่างต่อเนื่อง
วิสัยทัศน์ (Vision)
คือ ความคิดเห็นที่มีขอบเขต ระเบียบ ระบบหรือการมองภายในอนาคตที่หน่วยงานอยากเห็น อยากให้เป็นภาพที่หน่วยงานคาดหวังให้เกิดขึ้นในอนาคต โดยมีพื้นฐานอยู่บนความจริงในปัจจุบัน
ยุทธศาสตร์ (Strategy)
คือ การมองทิศทางและวิเคราะห์ไปสู่อนาคต โดยพิจารณาถึงทรัพยากร ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทางเลือกต่าง ๆ ความเป็นไปได้ขององค์การเพื่อระดมมาใช้ และพิจารณาว่าสามารถนำองค์การไปสู่ภารกิจและเป้าหมายที่วางไว้ กลยุทธ์ คือ เครื่องมือที่กำหนดทิศทางการทำงานของหน่วยงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายให้บริการ
บริบทของสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก
1. โรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก ตั้งอยู่เลขที่ 27/1 ถ.พัฒนาการคูขวาง ต.ในเมือง อ.เมือง
จ.นครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
2. ได้รับอนุญาตจัดตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2544
3. เปิดสอนตั้งแต่ชั้นบริบาล ชั้นอนุบาล 1 ถึง อนุบาล 3
4. ผู้รับใบอนุญาต ชื่อ นายธีระ คู่ปิตุภูมิ
5. ผู้อำนวยการและผู้จัดการ ชื่อนางวิสาข์ คู่ปิตุภูมิ
6. โรงเรียนตั้งอยู่บนที่ดินเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน 36 ตารางวา
- ทิศเหนือติดโรงแรมสิริธานี
- ทิศใต้ติดคลองสานหลวง
- ทิศตะวันออก ติดถนนพัฒนาการคูขวาง
- ทิศตะวันตก ติดโครงการอาคารทาวน์เฮาส์
7. โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเป็นแหล่งเรียนรู้ คือ เป็นสวนป่าธรรมชาติ มีไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ มีสนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ และสัตว์สวยงาม เช่นนกยูง ไก่ต๊อก ไก่งวง เป็นต้น
8. โรงเรียนตั้งอยู่ติดถนนพัฒนาการคูขวาง ซึ่งมีสถานที่สำคัญมากมาย เช่น โรงพยาบาลนครพัฒน์ โรงแรมทวินโลตัส โครงการหมู่บ้านจัดสรร ตลาดและห้างเทสโก้โลตัส
9. บุคลากรของโรงเรียนเรียนจบทางด้านปฐมวัยเป็นส่วนใหญ่ และเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่
จ.นครศรีธรรมราช
10. ผู้ปกครองเป็นผู้มีรายได้สูงถึงปานกลาง แต่การเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนก็ไม่สูงมากนัก ประมาณ 7,200 บาท ทั้งนี้เพราะผู้ปกครองกลุ่มมีรายได้ปานกลางมีมากกว่ารายได้สูง
จากบริบทของโรงเรียนอนุบาลบ้านเด็กจะเห็นได้ว่า เป็นสถานศึกษาระดับชั้นอนุบาลที่พร้อมในการที่จะส่งบุตรหลานเข้าเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
สภาพปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนา
ปัญหาของโรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน ยังขาดความร่วมมือจากชุมชนในด้านการมีส่วนร่วมกับโรงเรียน เพื่อช่วยแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอนหรือเป็นคณะกรรมการของสถานศึกษา ก็ไม่สามารถหาคนมาร่วมกับโรงเรียนได้ เพราะผู้ที่อยู่ในชุมชนจะมองโรงเรียนเอกชนเป็นงานบริหารแบบทำธุรกิจ จึงไม่อยากยุ่งและเห็นว่าไม่ใช่ธุระของตน หรืออาจไม่มีเวลาพอที่จะสละเวลามาร่วมงานของโรงเรียนตามหลักการบริหารแบบ SBM ได้
ความร่วมมือที่มี คือได้จากผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งเป็นเพียงมีการร่วมในกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นเท่านั้น เช่น กิจกรรมวันแม่ กีฬาสี หรือตักบาตรวันปีใหม่ ส่วนเรื่องการมีส่วนร่วมในการบริหารกับโรงเรียนยังขาดอยู่
และปัญหาอีกอย่างหนึ่ง คือ การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทางโรงเรียน ยังขาดวิทยากรที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญมาแนะนำ เช่น ศิลปะการทำหนังตะลุง หรือ การรำมโนราห์ โรงเรียนแก้ปัญหาโดยพานักเรียนไปชมที่แหล่งการเรียนรู้เอง
ผู้ให้ข้อมูล นางวิสาข์ คู่ปิตุภูมิ
หน่วยงาน โรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก
ณ วันที่ 19 พ.ย. 52
ประโยชน์ของ Google
ประโยชน์ของ Google ในการบริการสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม
โดยแบ่งออกตามความสามารถในการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม
โดยแบ่งออกตามความสามารถในการทำงานในด้านต่างๆ ดังนี้
1. บริการในกลุ่มดัชนีค้นหา(Search Engines) Google Web Search Features ประกอบด้วยบริการค้นหาต่อไปนี้
· Book Search : บริการค้นหาหนังสือแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการใหม่ของ Google ที่เพิ่งเปิดให้บริการกับแฟนหนังสือโดยเฉพาะ
· Cached Links :บริการช่วยจับประเด็นหรือหัวเรื่องสำคัญของเว็บไซต์ที่คุณต้องการจะค้นหา
· Calculator : เครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่คุณสามารถตั้งตัวเลข โดยคีย์ลงในช่องค้นหาของ Google แล้วคลิ้กหาคำตอบที่ต้องการได้เลย
· Currency Conversion : บริการแปลงหน่วยมาตราเงินสำหรับระบบแลกเปลี่ยนเงินตรา
· Definitions : หมวดคำศัพท์ที่คุณสามารถค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
· File Types : ดัชนีค้นหาสินค้าออนไลน์ทั่วทุกมุมโลก
· Groups : ถ้าหากว่าคุณอยากรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคนโพสต์กันบนเว็บไซต์ สามารถค้นหาได้จากบริการนี้
· I ‘m Feeling Lucky : ปุ่มบริการดัชนีค้นหาที่ช่วยให้ค้นหาเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว และตรงประเด็น โดยข้ามลิงก์ของเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ถูกตัดออกไป
· Images : ระบบดัชนีค้นหารูปภาพที่คลิกได้ง่าย และเร็วทันใจ
· Local Search : บริการค้นหาธุรกิจและบริการต่าง ๆ ที่เปิดในสหรัฐ อังกฤษ และแคนาดา
· Movie : คุณสามารถเข้าไปดูรีวิวภาพยนตร์หรือว่าตารางโปรแกรมฉายแบบเรียลไทม์ได้จากฟีเจอร์นี้
· Music Search : ดัชนีค้นหาเพลงหรือว่าดนตรีที่มีให้บริการฟังเพลงออนไลน์หรือว่าดาวน์โหลดเพลงจากทั่วโลก
· News Headlines : บริการที่ทำให้คุณสามารถรู้ข้อมูลข่าวสารทันในที่ส่งมาจากรอบโลกแบบเรียลไทม์
· PhoneBook : บริการค้นหาเบอร์โทรศัพท์และเลขที่บนท้องถนนของสหรัฐอเมริกา
· Q&A : บริการใหม่ที่คุณอยากรู้อะไรเกี่ยวกับ Google บริการนี้ตอบปัญหาให้คุณได้ทุกเรื่อง
· Similar Pages : บริการแสดงหน้าเว็บเพจที่แสดงผลในหน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง
· Site Search : กำหนดขอบเขตของการค้นหาเว็บไซต์ให้แคบลง
· Spell Checker : เครื่องมือช่วยในการสะกดคำ
· Stock Quotes : ดัชนีค้นหาสำหรับราคาหุ้นแบบเรียลไทม์
· Travel Information : บริการตรวจสอบสายการบินในสหรัฐ รวมถึงรายงานสภาพอากาศของสนามบิน
· Weather : บริการตรวจสอบสภาพอากาศและการพยากรณ์อากาศในทุกรัฐของสหรัฐ
· Web Page Translation : บริการแปลหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาอื่น ๆ
2. บริการในกลุ่ม Google Services
· Alerts : บริการแจ้งเตือนข่าวสารและผลการค้นหาผ่านอีเมล์แบบออนไลน์
· Answer : บริการตอบคำถามให้กับคุณได้ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน
· Answer : บริการตอบคำถามให้กับคุณได้ทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ โดยนักวิจัยชื่อดังกว่า 500 คน
· Blog Search : บริการค้นหาหัวข้อเรื่องที่เป็น Blog ในประเด็นที่คุณสนใจ
· Catalogs : บริการค้นหารายการสินค้าที่คุณสนใจและต้องการจะสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์
· Directory : บริการค้นหาสาระสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์
· Labs : บริการใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดสอบใช้งานได้ฟรี ก่อนที่จะออกมาเป็นชุดเต็มของโปรแกรม
· Mobile : บริการหลักของ Google ที่สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องโทรศัพท์มือถือ เช่น บริการดัชนีค้นหาเอกสาร รูปภาพ หรือส่ง SMS
· News : บริการรายงานข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆจากทั่วทุกมุมโลกที่มีให้คุณได้อ่านก่อนใคร
· Scholar : บริการค้นหาเอกสารงานวิจัยใหม่ ๆ รวมทั้งบทคัดย่อจากห้องสมุดใหญ่ ๆ มากมาย
· Special Searches : บริการค้นหาประเด็นสาธารณะในส่วนที่เป็นองค์กร หรือว่าสถาบันที่ไม่หวังผลกำไรต่างๆ รวมถึงบริการค้นหาเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่าง ๆ ที่มีรายละเอียดในเรื่องของหลักสูตรการสอนและระเบียบวิธีการเข้าศึกษาต่อทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
· Video : บริการค้นหารายการทีวีทางโทรทัศน์ เกมโชว์ มิวสิควิดีโอ ที่คุณสามารถเช่าชั่วโมงมาดูกันแบบออนไลน์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณ
3. บริการในกลุ่ม Google Tools
· Blogger : เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือสำหรับสร้าง Blogger ของคุณเอง
· Code : เครื่องมือสำหรับดาวน์โหลด APls และ Source code
· Desktop : เครื่องมือสำหรับช่วยค้นหาไฟล์และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
· Earth : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถค้นหาแผนที่โลกจากดาวเทียม
· Gmail : บริการอีเมล์รุ่นทดสอบของ Google ที่มีความจุกว่า 2.6 กิกะไบต์
· Pack : ชุดเครื่องมือรวมฮิตของ Google รวมถึงบราวเซอร์สุดเก่ง
· Firebox Picasa : เครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการรูปภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
· Firebox Picasa : เครื่องมือสำหรับการบริหารและจัดการรูปภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์
· Local for Mobile : เครื่องมือสำหรับค้นหาแผนที่ของสถานที่ต่าง ๆ บนโทรศัพท์มือถือ
· Talk : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถพูดคุย ส่งอีเมล์ กับเพื่อนของคุณแบบเรียลไทม์ออนไลน์
· Toolbar : กล่องเครื่องมือที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้โดยตรง โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google
· Translate : เครื่องมือที่ทำให้คุณสามารถดูเว็บไซต์ได้หลาย ๆ ภาษา
· Labs : กลุ่มของชุดเครื่องมือใหม่ ๆ ของ Google ที่คุณสามารถเข้าไปทดลองดาวน์โหลดได้ฟรี
Google มีประโยชน์มากมาย ตัวอย่างเช่น
1. Google ช่วยแปลเว็บไซต์ที่เราค้นหาได้ที่เป็นภาษาอื่น มิใช่ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สเปน ฯลฯ ให้เป็นเว็บภาษาอังกฤษได้ ด้วยการคลิกที่ Language Tools
(เครื่องมือเกี่ยวกับภาษา) ที่หน้าแรกของ Google เพื่อเปิดการทำงานของตัวแปลภาษา หรือให้แปลเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้ โดยใส่ชื่อ URL ที่ต้องการให้ Google แปลลงในกรอบ Translate the Website
(เครื่องมือเกี่ยวกับภาษา) ที่หน้าแรกของ Google เพื่อเปิดการทำงานของตัวแปลภาษา หรือให้แปลเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้ โดยใส่ชื่อ URL ที่ต้องการให้ Google แปลลงในกรอบ Translate the Website
2. ค้นหาโดยระบุคำสั่งพิเศษ โดยใช้การค้นหาแบบ Advanced Search (ค้นหาแบบละเอียด) เพื่อบอก ให้ Google จำกัดขอบเขตการค้นหาให้เหลือเฉพาะหน้าเว็บไซต์ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Google ในช่วง 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน ที่ผ่านมาเท่านั้น
3.สามารถค้นหาไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในรูป doc, pdf, ps ฯลฯ ได้ด้วยการกำหนดรูปแบบเอกสารของผลการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง
4.ค้นด้วยคำที่มีความหมายเหมือนกัน โดยให้ใส่เครื่องหมาย Tilde (~) หน้าคำที่ต้องการค้นหา โดยไม่ต้องเว้นวรรค Google จะค้นหาคำ Synonym ของคำที่เราต้องการค้นหาให้ด้วย
5.ค้นหาเฉพาะกลุ่ม โดยใช้ Special Google Searches เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการค้นหา
6.ใช้ Google ช่วยในการคำนวณ
7.ช็อปปิ้งด้วย Google : Froogle
8.ตรวจสอบราคาหุ้นของบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นของอเมริกา
9.สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ
10.Google เป็นเครื่องคิดเลขได้Google Searc Bar เป็นแอปพลิเคชันเครื่องคิดเลขที่มาพร้อมกับ
Windows ลอง search คำว่า "845+62+31)/5" ดูสิจะทราบผลลัพธ์ ของมันทันที นอกจากนี้ยังคำนวณเปอร์เซ็นต์ ต่างๆได้ด้วย
11.Google สามารถค้นหา MP3 และเพลงฟรีออนไลน์ได้Google มี algorithm ในการ Search หาเพลง mp3 ที่คุณต้องการนี่คือสิ่งที่คุณต้องพิมพ์
"ชื่อศิลปิน" สำหรับศิลปินที่คุณสนใจ:-inurl: (htm | html ที่ | PHP) ในช่อง ค้นหา
"ชื่อศิลปิน" สำหรับศิลปินที่คุณสนใจ:-inurl: (htm | html ที่ | PHP) ในช่อง ค้นหา
12. Google Search Bar บน Browser เป็นเหมือน พจนานุกรมง่ายๆเลย ค้นหาคำจำกัดความสำหรับคำที่เราต้องการ หาความหมายของคำนั้นๆ หรือ "Keyword" นั้นๆ นอกจากนี้วิธียังมีคุณประโยชน์หากคุณไม่แน่ใจว่าการสะกดคำ ของเจ้า "Keyword" นั้นๆถูกหรือไม่
13.ใช้ Google ตรวจสอบเวลาในประเทศอื่นๆGoogle สามารถบอกคุณได้ถึงเวลาประเทศอื่นจาก Google Search Bar เช่น 'time Tokyo' จะเห็นเวลาที่อยู่ในโตเกียว
14.Google สามารถบอกอัตราต่างๆได้หากคุณต้องการค้นหาอย่างเร่งรีบกับ วิธีการแปลงสกุลเงิน,น้ำหนักและมาตรฐาน อื่นๆ แน่นอน Google ทำได้
15. Google Earth Enterprise - ภาพรวม
สำรวจข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ด้วยประสิทธิภาพการทำงานของ Google Earth Enterprise ซึ่งมีการแสดงผลภาพโลกเป็นแบบ 3D ที่จะรวม จัดการ และเผยแพร่ข้อมูลตำแหน่งองค์กรของคุณ Google Earth Enterprise จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Google Earth ภายในองค์กร รวมข้อมูลขององค์กรด้วยข้อมูล Google Earth ที่ส่งมาเป็น ASP หรือ ให้พื้นที่ชุดข้อมูลที่สมบูรณ์แบบของคุณเอง ในขณะนี้ ด้วยการสนับสนุนการเข้าถึงที่ใช้เบราว์เซอร์แบบ 2D โดยใช้ Google Maps API ข้อมูลพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีประโยชน์ของคุณจะถูกรวมไว้ในแอปพลิเคชันที่ใช้เว็บหรือผู้ใช้ทุกรายสามารถดูข้อมูลนี้ได้ ไม่ว่าซอฟต์แวร์โปรแกรมของผู้ใช้จะเป็นอย่างไร
กรณีศึกษาการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสถาบันการศึกษา โรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดไว้ในหมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหา ความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ประกอบกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 ของกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดมาตรฐานออกเป็น 4 ด้านด้วยกันคือ
1. มาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก
2. มาตรฐานด้านการจัดการเรียนรู้
3. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา
4. มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
นอกจากนี้ในด้านการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาปฐมวัย ได้แบ่งออกเป็น 3 มาตรฐาน คือ
1. มาตรฐานด้านผู้เรียน
2. มาตรฐานด้านครู
3. มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทำให้เห็นได้ว่าเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สถานศึกษาต้องจัดเตรียมไว้สำหรับผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นโรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก ที่เป็นสถานศึกษาสำหรับนักเรียนในระดับปฐมวัย จึงได้จัดสื่อในด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในด้านต่าง ๆ ไว้เพื่อพัฒนาการในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนอย่างเพียงพอ โดยจะขออธิบายแยกเป็นรายมาตรฐานตามของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ คือ
1. มาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก
2. มาตรฐานด้านการจัดการเรียนรู้
3. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา
4. มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
นอกจากนี้ในด้านการประเมินคุณภาพภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาปฐมวัย ได้แบ่งออกเป็น 3 มาตรฐาน คือ
1. มาตรฐานด้านผู้เรียน
2. มาตรฐานด้านครู
3. มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทำให้เห็นได้ว่าเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สถานศึกษาต้องจัดเตรียมไว้สำหรับผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นโรงเรียนอนุบาลบ้านเด็ก ที่เป็นสถานศึกษาสำหรับนักเรียนในระดับปฐมวัย จึงได้จัดสื่อในด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในด้านต่าง ๆ ไว้เพื่อพัฒนาการในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนอย่างเพียงพอ โดยจะขออธิบายแยกเป็นรายมาตรฐานตามของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ คือ
1. มาตรฐานด้านคุณภาพเด็ก
ทางโรงเรียนได้จัดเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ จากแหล่งต่างๆและวิธีการที่หลากหลาย โดยพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ โดยทางโรงเรียนได้จัดซื้อจัดหาโปรแกรมสำหรับเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะจากบริษัท Thai Kids Com อย่างถูกต้องตามลิขสิทธิ์ เพื่อพัฒนาทักษะประสาทการรับรู้ คือ การใช้สายตา ที่สัมพันธ์กับมือ การใช้เมาส์ การใช้คำสั่งต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดความคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหา และคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อีกทั้งเด็กยังได้ฝึกทักษะในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก และเกิดทักษะในการสื่อสารระหว่างกันและกัน พร้อมทั้งเกิดทักษะการสังเกตและสำรวจ จากสิ่งที่เกิดขึ้นในโปรแกรมคอมพิวเตอร์อีกด้วย ทำให้เด็กเกิดความใฝ่รู้และพัฒนาตนเอง ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดไว้ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถแสวงหา ความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งทางโรงเรียนได้จัดสื่อการสอนเป็น VCD ให้เด็กได้เรียนรู้จากโทรทัศน์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการให้เหมาะสมตามวัยอีกด้วย
2. มาตรฐานด้านการจัดการเรียนรู้
ทางโรงเรียนได้จัดซื้อจัดหาโปรแกรมสำหรับเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะ จากบริษัท Thai Kids Com มาสอนเด็ก ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาจึงได้รับการอบรมในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ร่วมด้วย ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาบุคลากรในด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์แก่ตัวครูเอง แก่เด็ก และนอกจากนี้ทางโรงเรียนได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ขึ้นใหม่ จึงเป็นแรงกระตุ้นให้ครูได้พยายามศึกษาหาความรู้ในด้านการเขียนแผนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการเขียนแผนขึ้นมา ทำให้ครูได้พัฒนาตนเองทั้งทางทักษะการใช้สื่อ และพัฒนาความรู้ในด้านการเขียนแผนและความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นโครงการต่าง ๆ ขึ้นมารวมทั้งเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ทำให้สามารถใช้สื่อที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กในการจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญอีกด้วย
3. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษา
ทางโรงเรียนได้พัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษาโดยพัฒนาจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ในด้านการวางแผนพัฒนาบุคลากรทุกระดับ วางแผนอัตรากำลังในแต่ละปี และวางแผนรองรับระบบช่วยเหลือนักเรียนและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งวางแผนในด้านงบประมาณในแต่ละปีอีกด้วย โดยทางโรงเรียนได้จัดทำระบบบัญชีโดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และทำระบบ HRM และ HRD โดยมีการบันทึกในฐานข้อมูลบุคลากร และมีการบันทึกข้อมูลนักเรียนในฐานข้อมูลนักเรียนอีกด้วย
4. มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้
ในด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางโรงเรียนได้มีการจัดทำโครงการทำบุญตักบาตรปีใหม่เป็นประจำทุกปี โดยเชิญพระสงฆ์และผู้ปกครองมาตักบาตรร่วมกับลูกหลานของตนเองที่โรงเรียน และในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันแม่ วันพ่อ วันครู เป็นต้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยโรงเรียนจะมีการบันทึกภาพและจัดทำเป็นสื่อภาพสไลด์สอนเด็กในด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยด้วย
จะเห็นได้ว่า โรงเรียนอนุบาลบ้านเด็กได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามาใช้อย่างรอบด้าน เหมาะสมกับมาตรฐานด้านต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้เป็นอย่างดี
ความหมายของคำสำคัญต่าง ๆ ของการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสถาบันการศึกษา
1. คำว่า “การบริหาร” (Administration) จะใช้ในการบริหารระดับสูง โดยเน้นที่การกำหนดนโยบายที่สำคัญและการกำหนดแผนของผู้บริหารระดับสูง เป็นคำนิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) หรือใช้ในหน่วยงานราชการ และคำว่า “ผู้บริหาร” (Administrator) จะหมาถึง ผู้บริหารที่ทำงานอยู่ในองค์กรของรัฐ หรือองค์กรที่ไม่มุ่งหวังกำไร (Schermerhorn, 1999, p.G-2)
การบริหาร คือกลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Leading/Directing) หรือการอำนวย และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (6 M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน
คำว่า “การจัดการ” (Management) จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่วางไว้) ซึ่งนิยมใช้ในการจัดการธุรกิจ (Business management)
จากความหมายต่างๆ ข้างต้น การบริหารจัดการจึงเป็นกระบวนการของกิจกรรมที่ต่อเนื่องและประสานงานกัน ซึ่งผู้บริหารต้องเข้ามาช่วยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร ประเด็นสำคัญของการบริการจัดการ (Management) มีดังนี้
1) การบริหารจัดการสามารถประยุกต์ใช้กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งได้2) เป้าหมายของผู้บริหารทุกคนคือ การสร้างกำไร3) การบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิต (Productivity) โดยมุ่งสู่ประสิทธิภาพ (Efficiency) (วิธีการใช้ทรัพยากรโดยประหยัดที่สุด) และประสิทธิผล (Effectiveness) (บรรลุเป้าหมายคือประโยชน์สูงสุด)4) การบริหารจัดการสามารถนำมาใช้สำหรับผู้บริหารในทุกระดับชั้นขององค์กร
2. นวัตกรรม (innovate) หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
3. เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ)+โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)
4. ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
5. สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือ มีความเกี่ยว ข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
6. ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมายของ ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูลตังต่อไปนี้ 1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน 2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้ 3. จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้ 4. มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอ เพื่อให้อยู่ในภาพที่ถูกต้องทันสมัย
7. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
8. การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ
9. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)
ชนิดของเครือข่าย
เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล โปรแกรม หรือ เครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
· เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่น อยู่ในห้องหรือภายในอาคารเดียวกัน
· เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็นกิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
· เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN
และยังมีอีก 2 เครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีก คือ
· เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit : MCU)
· เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย
10. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผลการรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 )
11. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (Information & Communication Technology for Education) หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกัน สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล และมัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้ โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือจัดทำ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวกมาใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การบริหาร คือกลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Leading/Directing) หรือการอำนวย และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (6 M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน
คำว่า “การจัดการ” (Management) จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่วางไว้) ซึ่งนิยมใช้ในการจัดการธุรกิจ (Business management)
จากความหมายต่างๆ ข้างต้น การบริหารจัดการจึงเป็นกระบวนการของกิจกรรมที่ต่อเนื่องและประสานงานกัน ซึ่งผู้บริหารต้องเข้ามาช่วยเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กร ประเด็นสำคัญของการบริการจัดการ (Management) มีดังนี้
1) การบริหารจัดการสามารถประยุกต์ใช้กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งได้2) เป้าหมายของผู้บริหารทุกคนคือ การสร้างกำไร3) การบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิต (Productivity) โดยมุ่งสู่ประสิทธิภาพ (Efficiency) (วิธีการใช้ทรัพยากรโดยประหยัดที่สุด) และประสิทธิผล (Effectiveness) (บรรลุเป้าหมายคือประโยชน์สูงสุด)4) การบริหารจัดการสามารถนำมาใช้สำหรับผู้บริหารในทุกระดับชั้นขององค์กร
2. นวัตกรรม (innovate) หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
3. เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ)+โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)
4. ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือสาระต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความที่เกิดขึ้นจาก การดำเนินงาน หรือที่ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้ ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการตัดสินใจได้ทันที จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว
5. สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ย หรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่นการวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ หรือ มีความเกี่ยว ข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศ ประกอบด้วยข้อมูล เอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
6. ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์
วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมายของ ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูลตังต่อไปนี้ 1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน 2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้ 3. จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้ 4. มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอ เพื่อให้อยู่ในภาพที่ถูกต้องทันสมัย
7. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
8. การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ
9. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)
ชนิดของเครือข่าย
เครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล โปรแกรม หรือ เครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่
· เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่น อยู่ในห้องหรือภายในอาคารเดียวกัน
· เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็นกิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
· เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN
และยังมีอีก 2 เครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีก คือ
· เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit : MCU)
· เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย
10. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผลการรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549 )
11. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (Information & Communication Technology for Education) หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกัน สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล และมัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้ โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือจัดทำ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวกมาใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)